โอ่งมังกร จัดเป็นผลิตภัณฑ์ในประเภท สโตนแวร์ (Stoneware)
ที่ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพดีจะต้องเป็นโอ่งผลิตที่จังหวัดราชบุรี
ซึ่งโอ่งในสมัยแรกเป็นโอ่งไม่มีการติดลวดลายใดๆ เรียกว่าโอ่งเลี่ยน
ต่อมามีการคิดแกะลวดลายดอกติดที่พิมพ์ไม้ ตีที่บ่ารอบๆโอ่ง
ให้มีลายนูนขึ้นมาคล้ายไหในปัจจุบัน
ต่อมามีการนำเข้าดินขาวจากเมืองจีน เพื่อมาทดลองติดเป็นลายมังกร เลียนแบบโอ่งมังกรของจีน ปรากฏว่าได้ผลดี
จึงผลิตโอ่งมังกรขายสักระยะหนึ่ง
การนำเข้าของวัตถุดิบจากจีนเกิดมีปัญหาในการขนส่งมีราคาแพงขึ้นและไม่สะดวกในการขนส่งมาจังหวัดราชบุรี
ผู้ผลิตจึงเริ่มมองหาแหล่งดินขาวภายในประเทศทดแทน โดยทดลองนำดินจากจังหวัดชลบุรี
ระยอง มาติดลวดลายแทนดินขาวจากประเทศจีน
ซึ่งประสบความสำเร็จสามารถใช้ทดแทนดินขาวจากประเทศจีนได้
ถือเป็นการหมดยุคการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ
กระบวนการผลิตโอ่งมังกรจะเริ่มจากการซื้อดินเก็บมากองไว้โรงงาน (stock) ในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน โดยมีพ่อค้าคนกลางไปสำรวจหาแหล่งดิน ในเขตอำเภอเมืองราชบุรี และอำเภอโพธาราม แล้วเปิดหน้าดินนำดินข้างล่างขึ้นมาเสนอขาย ในราคาประมาณคันรถสิบล้อละ 1,000 บาท/8 คิว โดยจะบริการขึ้นกองให้เสร็จเรียบร้อย จะต้องกองดินทิ้งไว้ข้ามปีให้น้ำฝนชะล้างสารบางชนิดที่อยู่ในเนื้อดินให้ลดลง
กระบวนการผลิตโอ่งมังกรจะเริ่มจากการซื้อดินเก็บมากองไว้โรงงาน (stock) ในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน โดยมีพ่อค้าคนกลางไปสำรวจหาแหล่งดิน ในเขตอำเภอเมืองราชบุรี และอำเภอโพธาราม แล้วเปิดหน้าดินนำดินข้างล่างขึ้นมาเสนอขาย ในราคาประมาณคันรถสิบล้อละ 1,000 บาท/8 คิว โดยจะบริการขึ้นกองให้เสร็จเรียบร้อย จะต้องกองดินทิ้งไว้ข้ามปีให้น้ำฝนชะล้างสารบางชนิดที่อยู่ในเนื้อดินให้ลดลง
ดินปั้นโอ่งใช้ดินเหนียว
ซึ่งต้องนำมาหมักไว้ในบ่อหมักดินประมาณ 2 คืนเพื่อให้ดินอ่อนตัว
แล้วใช้พลั่วซอยให้ดินมีขนาดเล็กให้น้ำซึมได้อย่างทั่วถึง
เพื่อให้ดินอิ่มน้ำทั่วทั้งก้อน
หลังจากนั้นจะนำดินขึ้นมาจากบ่อหมักแล้วนำมาเข้าเครื่องนวดใส่ทรายละเอียดผสมในอัตราส่วนประมาณ
5 -10 เปอร์เซ็นต์
เครื่องนวดจะนวดดินเหนียวกับทรายให้คลุกเคล้าเข้าด้วยกันจนดูเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน
ดินเหนียวที่ได้ตอนนี้จะไม่เหลวเกินไปหรือแข็งเกินไป
เหมาะที่จะนำไปปั้นเป็นภาชนะและเครื่องใช้ต่างๆ
ดินผสมที่นวดออกมาจากเครื่องนวดจะกองเป็นดินกองใหญ่ เวลาใช้จะนำดินไปเข้าเครื่องรีดดินออกมาเป็นแท่ง ก่อนใช้เครื่องมือตัดดิน เรียกกันว่า โถ่งเก็ง เป็นเหล็กเส้นกลมนำมาโค้งเป็นรูปตัวยู ปลายเหล็กเส้นรูปตัวยูจะขึงลวดไว้จนตึงเส้นลวดนี้ใช้เป็นเครื่องมือตัดดินออกมาเป็นท่อนๆ เท่ากับจำนวนที่ต้องการใช้
ดินผสมที่นวดออกมาจากเครื่องนวดจะกองเป็นดินกองใหญ่ เวลาใช้จะนำดินไปเข้าเครื่องรีดดินออกมาเป็นแท่ง ก่อนใช้เครื่องมือตัดดิน เรียกกันว่า โถ่งเก็ง เป็นเหล็กเส้นกลมนำมาโค้งเป็นรูปตัวยู ปลายเหล็กเส้นรูปตัวยูจะขึงลวดไว้จนตึงเส้นลวดนี้ใช้เป็นเครื่องมือตัดดินออกมาเป็นท่อนๆ เท่ากับจำนวนที่ต้องการใช้

วิธีทำโอ่งมังกร
๑. การเตรียมดิน เนื้อดินสีน้ำตาลแดงที่ได้จากท้องนาทั่วไปในจังหวัดราชบุรีเป็นดินเหนียวที่มีคุณภาพดี มีความละเอียดเหนียวเกาะตัวกันได้ดี นำมาหมักไว้ในบ่อหมักดิน แช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ ๑ สัปดาห์ จากนั้นตักดินนำมากองไว้แล้วตัดดินเป็นก้อนนำเข้าเครื่องโม่หรือเครื่องนวดเพื่อให้เนื้อดินเข้ากัน แล้วใช้เหล็กลวดตัดดินที่โม่แล้วให้เป็นก้อนมีขนาดพอเหมาะแก่การปั้นงานแต่ละชิ้น นำมานวดโดยผสมทรายละเอียดเล็กน้อยเพื่อที่จะทำให้โอ่งมังกรมีเนื้อที่แกร่งและคงทนยิ่งขึ้น
๒. การขึ้นรูปหรือการปั้น การปั้นโอ่งแต่ละใบนั้นสามารถแบ่งขั้นตอนการขึ้นรูปออกเป็น ๓ ส่วนคือ
๒.๑ ส่วนขาหรือส่วนก้น โดยการนำดินเส้นที่ผ่านการนวดแล้ว มีความยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร การปั้นโอ่งขนาดใหญ่นั้นจะต้องปั้นบนแป้น ก่อนที่จะนำดินเส้นมาวางบนแผ่นไม้ ต้องใช้ขี้เถ้าโรยเสียก่อนเพื่อกันไม่ให้เนื้อดินติดกันเป็นแผ่นไม้ เนื้อดินที่นำมาขึ้นรูปเป็นส่วนก้นนั้นเรียกว่า “ตัวกิ๊ว” มีลักษณะเป็นก้อนกลมหรือก้อนสี่เหลี่ยมแผ่ออกเป็นวงกลม จากนั้นนำดินเส้นมาวางต่อกันเป็นชั้น ๆ เรียกว่า “การต่อเส้น” ขนาดมาตรฐานของโอ่งนั้น โอ่งขนาด ๗ ปี๊บจะใช้ดินเส้นต่อเป็นส่วนขาจำนวน ๘ เส้นหรือต่อเข้าด้วยกันทั้งหมด ๔ ขั้น เมื่อปั้นตัวโอ่งและยกลงแล้วตบแต่งผิวทั้งด้านนอกและด้านใน โดยการขูดดินที่ไม่เสมอกันออกให้เรียบ แล้วใช้น้ำลูบเพื่อให้ผิวเนียนอีกทีหนึ่ง
๒.๒ ส่วนลำตัวเรียกว่า “จ๊อ” นำส่วนขาหรือส่วนก้นที่แห้งพอหมาดมาวางบนแป้นยิ ซึ่งจะมีขนาดเตี้ยกว่าแป้นสำหรับทำส่วนขา ตบแต่งอีกครั้งด้วยฮุยหลุบและไม้ตี นำดินประมาณ ๑๐ เส้น หรือต่อกัน ๕ ขั้น วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางให้ได้ตามต้องการ ใช้ไม้ต๊าขูดดินและตบแต่งผิวให้เรียบ ทิ้งไว้พอหมาด โดยปกติการปั้นโอ่งส่วนลำตัวจะเป็นขั้นตอนใช้ดินเส้นมากกว่าส่วนอื่น รองลงมาคือส่วนปากตามลำดับ
๒.๓ ส่วนปากเรียกว่า “ตุ๊น” ลักษณะการต่อส้นคล้ายกับสองส่วนแรก แป้นยิมีขนาดเตี้ยลงไปอีกก่อนจะต่อเส้นจะต้องตบแต่งผิวส่วนจ๊อและส่วนขาด้วยไม้ต๊าเสียก่อนใช้ดินเส้นประมาณ ๓ ขั้น หรือ ๕ เส้น วัดความสูงได้ประมาณ ๗๐ เซนติเมตร สำหรับโอ่งขนาด ๗ ปี๊บ ใช้ฟองน้ำลูบให้เรียบ จากนั้นใช้ผ้าด้ายดิบชุบน้ำลูบส่วนบน พร้อมกับบีบหรือกดให้ขึ้นรูปขอบปากโอ่ง ใช้ไม้ต๊าตบแต่งให้เรียบเสมอกันอีกครั้งหนึ่ง สำหรับส่วนปากซึ่งทำไว้จำนวนมากนั้น ถ้าทิ้งไว้นานก่อนการเขียนลายจะทำให้แห้งเกินไป จึงต้องให้อยู่ในสภาพปียกพอหมาดๆ อยู่เสมอโดยใช้พลาสติกคลุมไว้โดยรอบ
๓. การเขียนลาย ต้องทำการแต่งผิวให้เรียบเสียก่อนด้วยฮุยหลุบและไม้ตี โอ่งที่แต่งเรียบร้อยดีแล้วนั้นต้องนำมาเขียนลายทันที เพราะถ้าทิ้งไว้เนื้อดินจะแห้งทำให้เขียนลายไม่ได้ สำหรับแป้นที่ช่างใช้เขียนลายนั้นเป็นแป้นไม้หมุน ขณะเขียนลายลงบนตัวโอ่งจะใช้เท้าถีบที่แกน หมุนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเขียนเสร็จ วัสดุที่ใช้เขียนลายนั้นเป็นดินเนื้อละเอียดผสมกับดินขาว เรียกดิน “ติดดอก” มีสีนวล ดินขาวนั้นได้มาจากจังหวัดจันทบุรี หรือสุราษฎ์ธานี ซึ่งมีคุณภาพดี เหมาะสำหรับนำมาเป็นดินติดดอก ช่างเขียนลายใช้ดินสีนวลนี้ปาดด้วยมือเป็นเส้นเล็ก ๆ รอบตัวโอ่ง แบ่งเป็นสามช่วง คือช่วงปากโอ่ง ลำตัว และส่วนเชิงล่างของโอ่งในแต่ละส่วนจะมีลวดลายไม่เหมือนกัน ช่วงปากโอ่ง นิยมเป็นลายดอกไม้หรือลายเครือเถา ใช้วิธีที่เรียกว่าพิมพ์ลาย นำกระดาษฉลุลายวางทาบบนโอ่งแล้วปาดด้วยดินติดดอก โอ่งใบหนึ่ง ๆ มีประมาณ ๔ ช่วงตัวแบบ ช่วงลำตัว นิยมเขียนเป็นลายรูปมังกร มีทั้งมังกรดั้นเมฆ มังกรคาบแก้ว และมังกรสองตัวเกี่ยวพันกัน เป็นต้น ช่างเขียนลายมังกรนี้จะเป็นผู้ที่มีความชำนาญมาก ปาดเนื้อดินด้วยหัวแม่มือเป็นรูปมังกรคร่าว ๆ โดยไม่ต้องมีแบบร่าง จากนั้นใช้ปลายหวีขีดเป็นหัวมังกร ใช้หวีตกแต่งเป็นส่วนหนวด นิ้วและเล็บ สำหรับเกล็ดมังกรใช้สังกะสีที่ตัดปลายหยักไปมาทาบบนตัวมังกรนั้นและเน้นส่วนลูกตาของมังกรให้มีความเด่นนูนออกมา ส่วนเชิงล่างของโอ่ง ใช้วิธีการติดลายคล้ายกับส่วนปาก จากนั้นใช้น้ำลูบที่ลายทั้งหมด เพื่อให้ลายมีผิวที่เรียบเสมอกันและลื่น เป็นการเตรียมสู่ขันตอนการเคลือบและเผาต่อไป โอ่งแต่ละใบช่างผู้ชำนาญใช้เวลาการเขียนสีประมาณ ๑๐ นาที
๔. การเคลือบ น้ำมันที่ใช้ในการเคลือบเป็นส่วนผสมของขี้เถ้าและน้ำโคลนหรือเลน และสีเล็กน้อย ซึ่งเป็นสีที่ได้จากออกไซด์ของเหล็ก ส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาลเข้ม การเคลือบจะนำโอ่งไปวางหงายในกระทะขนาดใหญ่ ใช้ยาเคลือบราดให้ทั่วทั้งด้านในและด้านนอก แล้วจึงนำไปวางผึ่งลมไว้ โอ่งที่เคลือบน้ำยานั้นนอกจากจะทำให้สีสวยเป็นมันเมื่อเผาแล้วยังช่วยในการสมานรอยต่าง ๆ ในเนื้อดินให้เข้ากัน เมื่อนำไปใส่น้ำจะไม่ทำให้น้ำซึมออกมาข้างนอกด้วย
๕. เตาเผาโอ่งมังกร เรียกว่า “เตาจีนหรือเตามังกร” ก่อด้วยอิฐทนไฟเป็นรูปยาว ด้านหัวเตาเจาะเป็นช่องประตูสำหรับลำเลียงโอ่งและภาชนะดินเผาอื่น ๆ ด้านบนของเตาทั้งสองข้างเจาะรูไว้เป็นระยะ ๆ เรียกว่า “ตา” เพื่อใช้ใส่เชื้อเพลิง ลักษณะของเตามังกรนี้ด้านหนึ่งอยู่ระดับเดียวกับพื้นดินใช้เป็นหัวเตาสำหรับก่อไฟ อีกด้านหนึ่งสูงกว่าเพราะต้องทำให้ตัวเตามีลักษณะเอียงลาดเป็นส่วนของก้นเตาใช้เป็นปล้องระบายควัน ก่อนการลำเลียงโอ่งเข้าเตาเผาต้องเกลี่ยพื้นเตาให้เรียบเสมอกันเสียก่อน แล้วจึงจัดวางโอ่งให้เป็นระเบียบ การวางโอ่งซ้อน ๆ กันจะมีแผ่นเคลือบเรียกว่า “กวยจักร” เป็นตัวรองไว้ เมื่อลำเลียงโอ่งเข้าทางประตูเตาแล้ว ก่อนเผาต้องใช้อิฐปิดทางไว้ให้มิดชิด เพื่อกันมิให้ความร้อนระบายออกมาได้ เตาขนาดใหญ่สามารถบรรจุโอ่งได้คราวละ ๓๐๐ – ๕๐๐ ใบ การจุดไฟต้องเริ่มที่หัวเตาก่อน เมื่อติดแล้วทยอยใส่ฟืนลงที่ช่องเตาทั้งสองข้าง ความร้อนในเตาต้องมีอุณหภูมิถึง ๑๒,๐๐๐ องศาเซลเซียส การที่จะดูว่าโอ่งนั้นเผาสุกได้ที่แล้วหรือยังต้องดูตามช่องใส่ฟืนและต้องดูจากช่องต่ำสุดก่อน หากยังไม่สุกดีก็เติมไฟลงไปอีก ถ้าสุกดีแล้วใช้อิฐปิดช่องนั้นและดูช่องถัดไปตามลำดับโดยวิธีเดียวกัน จนกว่าจะสุกทั่วทั้งเตาจึงเลิกใส่ฟืนแล้วปล่อยให้ไฟดับเอง ทิ้งไว้ประมาณ ๑๐ - ๑๒ ชั่วโมง ความร้อนในเตาจะค่อย ๆ ลดลงสามารถเปิดช่องประตูเตานำโอ่งออกมาได้ ในวันหนึ่ง ๆ มีโอ่งมังกรถูกลำเลียงไปขายยังท้องตลาดทั่วประเทศ และในปัจจุบันตลาดยุโรปและอเมริกาให้ความสนใจมากแต่นิยมชนิดที่ไม่เคลือบมากกว่าเพื่อนำไปเป็นเครื่องประดับตกแต่งตามสวนและระเบียง เป็นการนำมาซึ่งรายได้ให้แก่ประเทศปีละหลายสิบล้านบาท